ข่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ หน่วยงานการศึกษา จังหวัดพิจิตร
โพสต์เมื่อ  31 พ.ค. 2566 /   ผู้เขียน Admin_sit /  เปิดดู 336

มรภ.เพชรบูรณ์ ร่วมบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ หน่วยงานการศึกษา จังหวัดพิจิตร

************************************************************

วันที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 11.00 น. ผศ.ดร.ปรีชา ศรีเรืองฤทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้เดินทางไป ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ กับหน่วยงานการศึกษา จังหวัดพิจิตร ประกอบด้วย สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดพิจิตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิจิตร ณ ห้องประชุมชาละวัน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิจิตร เขต 1 จังหวัดพิจิตร

การลงนามในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาการศึกษา ผลิตบัณฑิต พัฒนาสมรรถนะคุณลักษณะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 คุณภาพผู้เรียนและคนไทยในอนาคต การวิจัย นวัตกรรม ร่วมกันบริการสังคม ร่วมกันทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นโรงเรียนคุณภาพ และโรงเรียนเครือข่าย ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศที่ปฏิบัติของทั้งสองฝ่าย

ส่วนด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ส่งเสริมความร่วมมือในการผลิตบัณฑิต การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (CWIE) การพัฒนาศักยภาพหรือสมรรถนะของนักเรียน นักศึกษา บัณฑิต ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และประเทศ โดยสนับสนุนส่งเสริมให้ใช้ทรัพยากรและศักยภาพของบุคลากรในสังกัดร่วมกัน

ด้านการวิจัย นวัตกรรม และการบริการสังคม นั้นจะ ส่งเสริมความร่วมมือด้านการวิจัย นวัตกรรมหรือเทคโนโลยี การทำโครงการหรือโครงงานต่าง ๆ และการบริการสังคม ตลอดจนการจัดเวทีสัมมนา การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ การแข่งขันทักษะทางวิชาการ และ การประชุมทางวิชาการ โดยเน้นการส่งเสริมการสร้างผลงานวิจัยหรือนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขปัญหา หรือเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้ตรงกับความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น และสังคม เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้จากการนำองค์ความรู้หรืองานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและก่อให้เกิดรายได้ หรือถูกนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมความร่วมมือในการทำนุบำรุง อนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นศูนย์กลางทางด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นการเพิ่มคุณค่าและมูลค่าของวัฒนธรรมจากกิจกรรมศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น

					</div>
					<!---------------------------------------------------->
										<div id=